วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

สเตจเม็นต์และโอเปอร์เรเตอร์(Statement & Operator)





การเขียนโปรแกรมภาษาจาวาสเตจเม็นต์และโอเปอร์เรเตอร์(Statement & Operator)

1. สเตจเม็นต์(Statement)
ในซอร์สโค้ดของโปรแกรมแต่ละสเตจเม็นต์ปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; ดังนั้นโปรแกรมสามารถเขียนสเตจเม็นต์ได้มากกว่าหนึ่งสเตจเม็นต์ในหนึ่งบรรทัดของซอร์สโค้ด หรือสามารถเขียนสเตจเม็นต์โดยมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดก็สามารถทำได้
int i;
System.out.print("Hello");
2. คอมเม็นต์(Comment)
คอมเม็นต์มีหลักและรูปแบบการเขียนอยู่สองวิธี กล่าวคือ
วิธีที่ 1 คอมเม็นต์ส่วนท้ายบรรทัด (สำหรับข้อความยาวไม่เกินหนึ่งบรรทัด)
คอมเม็นต์แบบนี้ใช้กับข้อความที่มีความยาวไม่มากนัก คือสามารถเขียนได้ภายในหนึ่งบรรทัดของซอร์สโค้ด คอมเม็นต์วิธีนี้สามารถเขียนรวมอยู่กับสเตจเม็นต์ในบรรทัดเดียวกันได้
แต่ตัวคอมเม็นต์จำเป็นต้องอยู่ที่ท้ายบรรทัดเท่านั้น
// ข้อความ
วิธีที่ 2 คอมเม็นต์ส่วนข้อความ (สำหรับข้อความยาวหลายบรรทัด) คอมเม็นต์แบบนี้ถูกใช้สำหรับการเขียนข้อความ
ที่มีความยาวมากๆ ซึ่งสามารถเขียนข้อความได้มากกว่าหนึ่งบรรทัด แต่ก็สามารถใช้กับข้อความสั่นๆได้ด้วยเช่นกัน การเขียนคอมเม็นต์ใช้สัญลักษณ์สองส่วน ประกอบด้วยตัวเปิดข้อความ /* และตัวปิดข้อความ */
รูปแบบ
/* ข้อความ
*/
3. ตัวดำเนินการ(Operator)
3.1 ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ประเภทการคำนวณ (Arithmetic Operators)
จัดเป็นตัวดำเนินการที่สามารคำนวณผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
มาเป็นตัวกำหนดวิธีการคำนวณ



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่างการใช้งาน
ผลลัพธ์
+
การบวก
10+5
15
-
การลบ
10-5
5
*
การคูณ
10*5
50
/
การหาร (ได้ผลหาร)
10/5
2
%
การหาร (ได้เศษจากการหาร)
10%5
0

class TriangleArea
{        public static void main(String arg[])
        {       float area;
                int base = Integer.parseInt(arg[0]);
                int height = Integer.parseInt(arg[1]);
                area = 1/2 * base * height;
                System.out.println("Area of Triangle is : " + area);
        }
}
ประเภทการคำนวณและให้ค่า (Arithmetic Assignment Operators)
เป็นตัวดำเนินการที่ใช้สำหรับทำให้เกิดการคำนวณจากข้อมูลในตัวแปร และยังผลให้ผลลัพธ์จากการคำนวณไปเก็บไว้ยังตัวแปรนั้นๆ ดังนั้นตัวดำเนินการประเภทนี้จึงต้องมีตัวแปรมารอรับผลลัพธ์อยู่ด้วย



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
เปรียบได้กับ
ผลลัพธ์(เมื่อ a =10)
+=
การบวกa +=5a = a + 5
15
-=
การลบa -=5a = a - 5
5
*=
การคูณa *=5a = a * 5
50
/=
การหาร (ได้ผลหาร)a /=5a = a / 5
2
%=
การหาร (ได้เศษจากการหาร)a %=5a = a % 5
0
ประเภทการคำนวณเพิ่มค่าและลดค่าข้อมูล (Increment/Decrement Arithmetic Operators)
มีตัวดำเนินการประเภทหนึ่งถูกกำหนดไว้เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มค่าหนึ่งจำนวน หรือลงค่าหนึ่งจำนวนของข้อมูลภายในตัวแปร หรือใช้สำหรับทำให้ตัวแปรมีคุณลักษณะเป็นตัวนับ (Counter)



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
ผลลัพธ์(เมื่อ a =10)
ผลลัพธ์
หลังคำสั่ง
++Variableเพิ่มค่าหนึ่งค่าก่อนการเข้าถึงSystem.out.print(++a)
11
11
Variable++เพิ่มค่าหนึ่งค่าหลังการเข้าถึงSystem.out.print(a++)
10
11
- -Variableลดค่าหนึ่งค่าก่อนการเข้าถึงSystem.out.print(- -a)
9
9
Variable- -ลดค่าหนึ่งค่าหลังการเข้าถึงSystem.out.print(a- -)
10
9

class IncreasementYourNumber {
       public static void main(String arg[])
       {        int a = Integer.parseInt(arg[0]);              System.out.println("Your Number is " + (a++) + " Increase to " + a );       }}

3.2 ตัวดำเนินการข้อมูลเชิงบิต (Bitwise Operators)ตัวดำเนินการประเภทนี้มีแนวความคิดมาจากการคำนวณข้อมูลที่เก็บในรูปของบิต เพื่อให้ผลลัพธ์ในการคำนวณออกเป็นข้อมูลบิต (บิตเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดข้อข้อมูลในคอมพิวเตอร์ บิตทำให้เกิดข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม[32 บิต] ทำให้เกินข้อมูลตัวอักษร[16 บิต] และอื่นๆ) ส่วนใหญ่แล้วตัวดำเนินการประเภทนี้นิยมใช้กับการคำนวณที่สลับซับซ้อน หรือการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ชั้นสูง



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
ผลลัพธ์ของ a
(เมื่อ a =1101; b = 1001)
~NOT (1 เป็น 0; 0 เป็น 1)~a0010
&ANDa & b1001
|ORa | b1101
<<ขยับบิตทางซ้ายa << 20100
>>ขยับบิตทางขวาa >> 20011
>>>ขยับบิตทางขวา
(สำหรับข้อมูล unsign)
a >>> 2
3.2 ตัวดำเนินการข้อความตรรกะ(Boolean Operators)
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ลักษณะของตัวดำเนินการแบบนี้ผลลัพธ์จะได้เป็นข้อมูลทางตรรกะ คือความจริงหรือความเท็จ ดังนั้นจึงนิยมใช้ตัวดำเนินการสำหรับการเปรียบเทียบกันระหว่างข้อมูลสองจำนวน




ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
ผลลัพธ์(เมื่อ a =10; b = 15)
==
ค่าเท่ากันหรือไม่a == bFalse (เท็จ)
!=
ค่าไม่เท่ากันหรือไม่a != bTrue (จริง)
>
ค่ามากกว่าหรือไม่a > bFalse (เท็จ)
>=
ค่ามากกว่าหรือเท่ากันหรือไม่a >= bFalse (เท็จ)
<
ค่าน้อยกว่าหรือไม่a < bTrue (จริง)
<=
ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากันหรือไม่a <= bTrue (จริง)

class TrueOrFalse{     public static void main(String args[])      {    System.out.println(true);            System.out.println(true==false);                        System.out.println(3.00==3);            System.out.println("a"!="A");
            int a = 120, b = 300;            System.out.println(a > b);            System.out.println(a/b < 0);      }}

ตัวดำเนินการข้อมูลตรรกะเป็นตัวดำเนินการซึ่งถูกใช้สำหรับดำเนินการกับค่าทางตรรกะ ถึงแม้ว่าค่าทางตรรกะจะมีแค่ค่า true กับ false ก็ตาม โปรแกรมสามารถนำค่าเหล่านั้นมาคำนวณได้ ซึ่งผลลัพธ์จากการประมวลผลจะได้เป็นค่าทางตรรกะ



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ตัวอย่าง
ผลลัพธ์(เมื่อ a =10; b = 15)
!
กลับค่าทางตรรกะ!(a == b)true (จริง)
&&
AND ค่าทางตรรกะ(5>=a) && (5<= b)false (เท็จ)
||
OR ค่าทางตรรกะ(15==a) || (15== b)true (จริง)

ที่มาจาก:http://www.itmelody.com/tu/java2.html

1 ความคิดเห็น: