วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะโครงสร้าง และรูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา

ลักษณะโครงสร้าง และรูปแบบการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา

1. โครงสร้างของคลาส
โปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวา ต้องสามารถสร้างออปเจ็คหรือคลาสให้ได้อย่างน้อยหนึ่งตัว โดยมีรูปแบบโครงสร้างดังนี้

class Class_Name

{    Data_Member

     Mothod_Member

}
class คือคีย์เวิร์ดสำหรับกำหนดคลาส
Class_Name คือชื่อคลาส
Data_Member ดาต้าในคลาส
Method_Member เมธรอดในคลาส
สัญลักษณ์ { } คือของเขตของคลาส
2. กฎการตั้งชื่อ(Identify)
ใช้ตั้งชื่อคลาส ชื่อดาต้า ชื่อเมธรอด และชื่อตัวแปร
  • ประกอบด้วยตัวอักษร และหรือตัวเลข โดยตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ว่าตัวเลขหรือตัวใหญ่ รวมถึงสัญลักษณ์พิเศษ _ หรือ $ เช่น age, name2, int2float, _name, Currency$ เป็นต้น
  • ความยาวตัวอักษรไม่ควรเกิน 65535 ตัวอักษร
  • ไม่ควรมีตัวเลขเป็นตัวแรก เช่น 101database, 2name ถือว่าไม่สามารถใช้ตั้งชื่อได้
  • ตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น Count, count และ CoUnT ทั้งสามตัวอ่านเหมือนกัน แต่ถือว่าเป็นคนละตัวกัน
  • ต้องไม่ตรงกับคีย์เวิร์ดใดในภาษาจาวาดังต่อไปนี้


    abstract double int strictfp ** boolean
    else interface super break extends
    long switch byte final native
    synchronized case finally new this
    catch float package throw char
    for private throws class goto *
    protected transient const * if public
    try continue implements return void
    default import short volatile do
    instanceof static while
    * แสดงคีย์เวิร์ดที่ไม่มีใช้ใน JDK เวอร์ชัน 1.2 ขึ้นไป
    ** แสดงคีย์เวิร์ดที่เพิ่มเข้ามาตั้งแต่ JDK เวอร์ชัน 1.2 ขึ้นไป
    3. ดาต้า(Data Member)
    รูปแบบ
    [Access_Level] [final] [static] Data_Type Data_Name
    ดาต้าคือส่วนประกอบส่วนหนึ่งของคลาส ถูกกำหนดเพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่นคลาส Pen มีดาต้า Color ไว้เก็บข้อมูลสี
    Access_Level ระดับการเข้าถึง ประกอบด้วยคีย์เวิร์ด 3 ตัวคือ public, private และ protected
    • คีย์เวิร์ด public เป็นระดับการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
    • คีย์เวิร์ด private เป็นระดับการเข้าถึงข้อมูล สำหรับการใช้งานภายในคลาสเท่านั้น
    • คีย์เวิร์ด protected เป็นระดับการเข้าถึงข้อมูลภายในคลาส และสำหรับคลาสที่สืบทอดมา (Inherit) แต่ต้องอยู่ในเพ็กเกจ (package) เดียวกัน
    • ถ้าไม่ระบุคีย์เวิร์ด เป็นระดับการเข้าถึงข้อมูลภายในคลาส และอยู่เพ็กเกจเดียวกัน
    final เป็นคีย์เวิร์ดตัวหนึ่งซึ่งใช้บอกว่าดาต้าตัวนั้นใช้สำหรับเก็บข้อมูล โดยที่ข้อมูลจะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ ปกติจะใส่คีย์เวิร์ดนี้ไว้เมื่อต้องการให้ดาต้าเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลที่คงที่ (Constant) ตลอดการทำงานของโปรแกรม
    static เป็นคีย์เวิร์ด สำหรับใช้บอกถึงคุณลักษณะพิเศษในการใช้งาน เมื่อมีการกำหนดให้ดาต้าใดๆนำหน้าด้วยคีย์เวิร์ด static แล้ว ดาต้าตัวนั้นจะมีคุณลักษณะดังนี้ 
    • ดาต้า จะถูกโหลดลงในหน่วยความจำและพร้อมที่จะถูกใช้งานในทันทีเมื่อมีการอ้างถึง ตามข้อกำหนดของระดับการเข้าถึง (Access Level)
    • ดาต้า จะอยู่ในหน่วยความจำเพียงตัวเดียว ไม่ว่าคลาสจะถูกสร้างเพื่อเป็นออปเจ็คกี่ตัวก็ตาม ดังนั้นจึงสามารถใช้ดาต้าเป็นที่เก็บข้อมูลรวมของกลุ่มคลาสเดียวกันได้


    class SimpleClass
    {
    int data1;
    }

    4. เมธรอด(Method Member)
    รูปแบบ
    [Access_Level] [final] [static] Return_Type Method_Name ( Argument_List )
    {     Statement       }
    • Argument_List คือช่องทางสำหรับการผ่านข้อมูลเพื่อส่งให้กับเมธรอดใช้ในการทำงาน 
    • Statement คือคำสั่ง คีย์เวิร์ดควบคุมการทำงาน เอ็กเพลสชั่นใดๆ เพื่อกำหนดหลักการและวิธีการประมวลผลภายในเมธรอด
    • สัญลักษณ์ { และ } เป็นเครื่องหมายบ่งบองขอบเขตของเมธรอด


    class SimpleClass
    { void method1()
    {           }
                                                                      }

    ที่มาจาก:http://www.itmelody.com/tu/java2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น